วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎี Social learning theory ของ แบนดูรา


ทฤษฎี Social learning theory ของ แบนดูรา (A. Bandura) เน้นความสำคัญของการสังเกตและเอาอย่าง ทรรศนะ และอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อผู้อื่น แบนดูรากล่าวว่า

“ถ้าหากว่าคนเราจะเรียนรู้จากผลของการกระทำของตนเองอย่างเดียว การเรียนรู้อาจเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความมานะบากบั่นเป็นอย่างมาก โดยที่ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องความเสี่ยงในการเรียนรู้ ยังดีที่เราเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆโดยการสังเกตผ่านตัวอย่าง จากการสังเกตคนอื่น ทำให้เราเกิดความคิดว่าจะแสดงพฤติกรรมใหม่ๆอย่างไร และในโอกาสอื่นๆต่อมา เราก็ใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้พวกนี้ มาเป็นไก๊ด์ในการแสดงพฤติกรรม”




ทฤษฎี Social learning theory อธิบายพฤติกรรมมนุษย์จากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างต่อเนื่องระหว่าง ความคิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการต่างๆได้แก่

    1. การให้ความสนใจ (Attention) ประกอบด้วยกิจกรรมซึ่งเลียนแบบตัวอย่าง (เป็นสิ่งที่โดดเด่น สร้างความรู้สึกในใจ ซับซ้อน ปรากฏอยู่ทั่วไป มีคุณค่าพอที่จะนำไปใช้ต่อ) และลักษณะการสังเกต (ศักยภาพในการรับรู้ ระดับความตื่นตัว มุมมอง สิ่งที่ตอกย้ำในอดีต)
    2. การเก็บรักษา (Retention) การตีความและกำหนดความหมายของคำพูดและสัญลักษณ์ต่างๆ การจัดระเบียบข้อมูลในสมอง การซ้อมใช้คำพูดและสัญลักษณ์ รวมทั้งการสั่งงานทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วย
    3. การสั่งงานทางระบบประสาทให้ทำซ้ำ (Motor reproduction) ศักยภาพทางกายภาพ การสังเกตการทำซ้ำของตนเอง การโต้ตอบที่แม่นยำ
    4. แรงจูงใจ (Motivation) เป็นเรื่องภายนอก ประสบการณ์ที่เกิดจากการจินตนาการด้วยการดูหรืออ่านเกี่ยวกับคนอื่นและตอกย้ำด้วยตนเอง

กรอบคิดของทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับความคิด และพฤติกรรม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเรื่องความสนใจ ความจำ และแรงจูงใจ ซึ่งปรับมาจากแบบจำลองของ Miller & Dollard (1941) ซึ่งเน้นการตีความด้านพฤติกรรมอย่างเดียว

ขอบเขตและการนำไปใช้

ทฤษฎี Social learning theory ถูกนำมาอธิบายความก้าวร้าว จิตวิทยาความผิดปกติ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีของการแสดงพฤติกรรมตัวอย่างซึ่งใช้ในการฝึกอบรมต่างๆ แบนดูราเน้นการศึกษาเกี่ยวกับ ความมีประสิทธิภาพของตนเองในบริบทที่หลากหลาย

ตัวอย่าง

เราเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างผ่านโฆษณาทีวี โฆษณามักจะชี้นำว่าการดื่มเครื่องดื่มบางอย่าง หรือใช้ยาสระผมบางยี่ห้อทำให้เราเป็นที่สนอกสนใจจากคนรอบข้าง และมักจะมีคนสวยๆหรือหล่อๆเข้ามาหา ขึ้นอยู่กับกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นความสนใจหรือแรงจูงใจ เราอาจเลียนแบบพฤติกรรมที่อยู่ในโฆษณา และซื้อสินค้าที่เขาโฆษณากันไปตามระเบียบ

หลักการ

    1. ระดับการเรียนรู้ผ่านการสังเกตดู จะเกิดขึ้นได้ด้วยการรู้จักจัดระเบียบและซักซ้อมพฤติกรรมที่เลียนแบบอย่างมีความหมาย และนำไปใช้อย่างเปิดเผย การแปลงพฤติกรรมที่เลียนแบบมา ในรูปของคำพูด ตรา หรือภาพ จะถูกเก็บไว้ในหัว ได้ดีกว่าการสังเกตเฉยๆ
    2. คนเรามีแนวโน้มที่จะยอมรับพฤติกรรมที่เราเห็นว่าน่าจะเอาอย่าง ถ้าพฤติกรรมนั้นทำให้เกิดผลที่เราเห็นว่ามีคุณค่าพอ
    3. คนเรามีแนวโน้มที่จะยอมรับพฤติกรรมที่เราเห็นว่าน่าจะเอาอย่าง ถ้าต้นแบบพฤติกรรมนั้นมีความคล้ายคลึงกับเรา และเรานับถือสถานภาพและพฤติกรรมซึ่งมีคุณค่าพอที่จะนำไปใช้ได้จริง

ทฤษฎีของออซูเบล

ประวัติ
ออซูเบล เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยมที่แตกต่างจากเพียเจต์และบรูเนอร์ เพราะออซูเบลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ได้ทุกชนิด
ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำ
 
ทฤษฎีของออซูเบล

-เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย

- การเรียนรู้อย่างมีความหมาย นั่นคือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง(Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ หรือข้อมูลใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อน

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

ออซูเบล ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

-การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

-การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง

-การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย

-การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด หรือแบบนกแก้วนกขุนทอง

ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ

การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง ดังต่อไปนี้

-สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย

-ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์และมีความคิดที่จะเชื่อมโยง

-ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้ คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา

ประเภทของการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
1. Subordinate learning เป็นการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย โดยมีวิธีการ 2 ประเภท คือ

1.1 Deriveration Subsumption

1.2 Correlative subsumption

2. Superordinate learning เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน

3. Combinatorial learning เป็นการเรียนรู้หลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆเชิงผสม

Advance organizer
เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของครู

ออซูเบลถือว่า Advance Organizer มีความสำคัญมากเพราะเป็นวิธีการสร้างการเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้ที่ผู้เรียนได้รู้แล้ว(ความรู้เดิม)กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ

หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
-การจัดเรียบเรียงข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ออกเป็นหมวดหมู่

-นำเสนอกรอบ หลักการกว้าง ๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่

-แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อสำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญที่เป็นความคิด รวบยอดใหม่ที่ต้องเรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)

การทดลองกับลิง

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นำกลุ่มคือ เวอร์ไธเมอร์ (Wertheimer) โคห์เลอร์ (Kohler) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lewin)
ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
กฎการเรียนรู้

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ
หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้นกลุ่ม
ของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ 4 ข้อ เรียกว่า กฎแห่งการจัดระเบียบ คือ
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพ
สมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการ
มองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่า
ได้ยินได้ค้นพบแล้ว ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด
การทดลองกลุ่มเกสตัลท์ เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น ซึ่งจะยกตัวอย่างการทดลองของโคล์เลอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1913-1917 ซึ่งทดลองกับลิง
ชิมแปนซี ซึ่งการทดลองครั้งแรกเป็นการทดลองในเยอรมัน แต่ต่อมาเข้าได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่อเมริกา
การทดลองส่วนใหญ่ระยะหลังจึงเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการในประเทศอเมริกา
ขึ้นตอนการทดลอง การทดลองของเขาครั้งแรกมีจุดประสงค์เพราะไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ที่กล่าว สัตว์โลกทั่วไปทำอะไรไม่มีแบบแผนหรือระเบียบวิธีใด ๆ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นการเดาสุ่มหรือการลองถูกลองผิด โดยมีการเสริมกำลังเป็นรางวัล เช่น อาหารเป็นแรงจูงใจที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ โดยไม่มีกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญา


     โคลเลอร์ได้สังเกตและศึกษาเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ เพราะมีความเชื่อว่าในสถานการณ์หนึ่ง ถ้ามี
เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ในการแก้ปัญหาและปฏิบัติการพร้อม สัตว์และคนสามารถแก้ปัญหาได้โดยการหยั่งเห็นโดยการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ เมือสัตว์ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นและเห็นช่องทางในสิ่งนั้นได้แล้ว การกระทำครั้งต่อไปจะสามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
โคลเลอร์ได้ทดลองโดยการขังลิงชิมแปนซี ตัวหนึ่งไว้ในกรงที่ใหญ่พอที่ลิงจะอยู่ได้ภายในกรงมีไม้หลายท่อน มีลักษณะสั้นยาวต่างกันวางอยู่ นอกกรมเขาได้แขวนกล้วยไว้หวีหนึ่งเกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้การใช้ท่อนไม้เหล่านั้น บางท่อนก็สั้นเกินไปสอยกล้วยไม่ถึงเหมือนกัน มีบางท่อนยาวพอที่จะสอยได้ ในขั้นแรกลิงขิมแพนซีพยายามใช้มือเอื้อมหยิบกล้วยแต่ไม่สำเร็จแม้ว่าจะได้ลองทำหลายครั้งเป็นเวลานานมันก็หันไปมองรอบรอบกรง เขย่ากรง ส่งเสียงร้อง ปีนป่ายและทำทุกอย่างที่จะช่วยให้ได้กินกล้วย แต่เมื่อไม่ได้ผลไม่สามารถแก้ปัญหาได้มันหันมาลองจับไม้เล่นแบะใช้ไม้นั้นสอยกล้วยแต่เมื่อไม่ได้ผล ไมสามารถจะแก้ปัญหาได้ มันหันมาลองจับไม้อันอื่นเล่น และใช้ไม้นั้นสอยกล้วย การกระทำเกิดขึ้นเร็วและสมบูรณ์ ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ เลยในที่สุดมันก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้

วิธีการที่ลิงใช้แก้ปัญหานี้ โคล์เลอร์เรียกพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการหยั่งเห็น เป็นการมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาโดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความสัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรงและสามารถใช้ไม้นั้นสอยกล้วยได้เป็นการนำไปสู่เป้าหมาย

กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซีมีดังนี้ก. วิธีการแก้ปัญหาโดยการหลั่งเห็นจะเกิดขึ้นทันทีทันใดเหมือนความกระจ่างแจ้งในใจ
ข. การเรียนรู้การหยั่งเห็นเป็นการที่ผู้เรียนมองเห็นรับรู้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นการตอบสนองของสิ่งเร้าเพียงอย่างเดียว
ค. ความรู้เดิมของผู้เรียน ประสบการณ์ของผู้เรียนมีส่วนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการหยั่งเห็นในเหตุการณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นปัญหาและช่วยให้ การหยั่งเห็นเกิดขึ้นเร็ว
การนำทฤษฎีประยุกต์ในการเรียนการสอน
การนำทฤษฎีประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นักจิตวิทยากลุ่มนี้คิดว่า ในการเรียนรู้ของคนเราเป็นการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และคิดได้ว่าอะไรเป็นอย่างไร ปัญหาก็แจ่มชัดขึ้นเอง เนื่องจากการเห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ของ

ปัญหามีหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นดังนี้
1. การหยั่งเห็นจะขึ้นอยู่กับการจัดสภาพที่เป็นปัญหา ประสบการณ์เดิมแม้จะมีความหมายต่อการเรียน
รู้ แต่การหยั่งเห็นนั้นให้เป็นระเบียบ และสามารถจัดส่วนของสถานการณ์นั้นให้เป็นระเบียบ มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

2. เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ครึ่งหนึ่ง คราวต่อไปเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกผู้เรียนก็จะสามารถนำวิธีการนั้น
มาใช้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดพิจารณาใหม่
3. เมื่อค้นพบลู่ทางในการแก้ปัญหาครั้งก่อนแล้วก็อาจนำมาดัดแปลงใช้กับสถานการณ์ใหม่ และรู้จัก
การมองปัญหา เป็นส่วนเป็นตอนและเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้


วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike) (Connectionism Theory หรือ Bond Theory หรือ S - R Theory)

การทดลองกับแมว
ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง(Bond)ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองและได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ ธอร์นไดน์เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้จากการศึกษาลักษณะการเรียนรู้ของสัตว์ (แมวเป็นส่วนใหญ่) ในการเปิดหีบกลเป็นระยะเวลานานและได้ข้อสรุปว่า การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูกโดยเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่มองเห็นความต่อเนื่องของปัญหา หรือมองเห็นการเชื่อมโยง หรือเกี่ยวข้อง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ผู้เรียนต้องอาศัยเวลาหรือจำนวนครั้งของการลองผิดลองถูกมากเพียงพอ จึงจะนำสู่เป้าหมายที่ต้องการได้สำเร็จ
ซึ่งมีหลักการพอสรุปได้ คือ
1.1 กฎการเรียนรู้
จากการทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ธอร์นไดน์ ได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎ คือ
1.1.1 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)เป็นกฎที่กล่าวถึงสภาพการณ์ 3 สภาพการณ์ คือ
- การกระทำที่เกิดขึ้นจากความพร้อมของร่างกาย ถ้าได้กระทำย่อมจะก่อให้เกิดความพอใจ
เมื่อร่างกายเกิดความพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดถ้าไม่ได้กระทำย่อมก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือความรำคาญใจ
- เมื่อร่างกายไม่พร้อมที่จะกระทำสิ่งใดแล้ว ถ้าถูกบังคับให้กระทำย่อมจะก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือรำคาญใจ
1.1.2 กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองด้วยการฝึกจะทำให้เกิดความแน่นแฟ้นและมั่นคง แต่ถ้าการฝึกหัดปฏิบัติไม่ต่อเนื่องกัน หรือการไม่ได้นำไปใช้จะทำให้เกิดการลืมได้ ความหมายของกฎแห่งการฝึกอาจสรุปได้ดังนี้
ก. การเชื่อมโยง หรือข้อต่อจะกระชับมั่นคงยิ่งขึ้น ถ้ามีการใช้และจะเสื่อมลงหรืออ่อนลง (Weakness of Connection) เมื่อไม่ได้ใช้
ข. สิ่งใดมีการกระทำซ้ำ ๆ หรือมีการฝึกเสมอ ๆ ผู้ฝึกย่อมกระทำสิ่งนั้นได้ดี สิ่งใดที่ไม่ได้ทำนาน ๆ ย่อมทำสิ่งนั้นไม่ได้เหมือนเดิม
ค. พฤติกรรมใด ๆ ได้มีการกระทำต่อเนื่องกันอยู่ย่อมมีผลให้การกระทำนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นถ้าพฤติกรรมใดไม่มีโอกาสได้ใช้หรือเว้นว่างไป หรือไม่ได้กระทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ พฤติกรรมนั้นก็มีแนวโน้มที่จะถูกลืม หรือแม้จะไม่ลืมก็ไม่อาจทำให้ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้นได้
1.1.3 กฎแห่งผล หรือกฎแห่งผลตอบสนอง (Law of Effect) กฎนี้กล่าวว่าเมื่อการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองถูกกระทำขึ้น และติดตามด้วยสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจแล้วความเข้มแข็งของการเชื่อมโยงก็จะแน่นแฟ้นขึ้น แต่ถ้าการเชื่อมโยงนี้ถูกติดตามด้วยสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดความรำคาญใจแล้วการเชื่อมโยงจะคลายความแน่นแฟ้นลง ดังนั้นสภาพ ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ จึงเป็นที่มนุษย์หรือสัตว์ไม่พยายามหลีกเลี่ยง จะพยายามรักษาสถานภาพนั้นไว้ หรือทำให้เกิดขึ้นมาใหม่ แต่สภาพใดที่ทำให้เกิดความรำคาญใจ เขาจะพยายามหาทางหลีกเลี่ยง ไม่อยากได้และต้องการให้สถานภาพนั้นสิ้นสุดโดยเร็ว

1.2 ข้อสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.2.1 จากกฎแห่งความพร้อม ในปัจจุบันความพร้อม หมายถึง ผู้เรียนมีความเจริญพร้อมทั้งทางกายใจ มีการปรับตัวเตรียมพร้อมมีความตั้งใจ ความสนใจ และมีทัศนคติอันจะก่อให้เกิดการกระทำขึ้นภาวะที่สมบูรณ์คือการมีวุฒิภาวะ ดังนั้นก่อนที่ผู้สอนจะสอนจะต้องสำรวจและศึกษาความพร้อมของผู้เรียนเตรียมผู้เรียนให้พร้อมก่อนให้การศึกษาจัดบทเรียนสนองต่อความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
1.2.2 จากกฎแห่งการฝึกหัด หลักการสำคัญของการฝึกมีดังนี้
- การฝึกให้กระทำซ้ำสิ่งเดียวกันในสถานการณ์ที่ต่างกัน การกระทำซ้ำซากในสิ่งเดียวกัน เหมือน ๆ กัน จะทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อน รู้สึกขุ่นเคือง และอารมณ์เสีย ดังนั้นในการฝึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะต้องทำแบบฝึกหลาย ๆ แบบ
- ระยะเวลาของการฝึกขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน และสำหรับการฝึกงานทักษะ การฝึกที่มีการพักสลับกันไป ผู้เรียนจะได้มีเวลาวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ผลกของการฝึกก่อนที่จะลงมือฝึกต่อไป ส่วนงานที่เป็นงานสร้างสรรค์ การฝึกติดต่อกันไปโดยไม่หยุดจะมีผลดีกว่า เพราะจะทำให้ความคิดต่อเนื่องกันไป

- ทุกครั้งที่ผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง จะต้องให้รางวัล หรือให้สิ่งที่ทำความพอใจแก่ผู้เรียน การฝึกจะมีผลสมบูรณ์หากผู้กระทำนั้นรู้วัตถุประสงค์และมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งที่กระทำนั้นด้วย พร้อมทั้งมีความสนใจและตั้งใจอีกด้วยดังนั้นก่อนการฝึกจะต้องสร้างความอยากที่จะฝึกเพื่อให้ผู้เรียนสามารถฝึกซ้ำ ๆ ฝึกหลายๆ ครั้ง หรือสามารถเรียนเกินขีด (Over Learning) ได้โดยไม่เหนื่อยหน่าย
1.2.3 จากกฎแห่งผลตอบสนองธอร์นไดน์ โดยอธิบายความสำคัญของกฎแห่งผลได้โดยเชื่อมโยงรางวัลกับความสำเร็จ การลงโทษกับความล้มเหลว แนวโน้มของพฤติกรรมมนุษย์มีดังต่อไปนี้
- คนจะเรียนได้ดี ถ้าผลตอบสนองของการเรียนนั้นทำให้ผู้เรียนพอใจ และคนเราจะเรียนเลวลงถ้าผลการเรียนนั้นทำให้ผู้เรียนรำคาญใจ รางวัลและความสำเร็จจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมมากขึ้นและขจัดสิ่งรบกวนออกไปแต่การทำโทษและความล้มเหลวจะลดการกระทำนั้นลงถ้าจะให้เรียนรู้บางอย่าง จะต้องมีรางวัลให้เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ
- ถ้าต้องการจะให้พฤติกรรมบางอย่างหายไป เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นจะต้องมีการทำโทษการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับผลของพฤติกรรมถ้าแสดงพฤติกรรมแล้วนำมาซึ่งความพึงพอใจพฤติกรรมอันนั้นจะถูกเก็บไว้ แต่ถ้าทำแล้วนำมาซึ่งความไม่พึงพอใจ พฤติกรรมอันนั้นจะถูกขจัดทิ้งไป

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์


การทดลอง

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์ B.F. Skinner ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำ พัฒนาขึ้นโดย บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990) มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและลงโทษการเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ


1.การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)

2. การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)






การเสริมแรงทางบวก



เป็นการกระทำชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้เรียนและความพึงพอใจนั้นทำให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการมากครั้งขึ้นหรือตอบสนองอย่างเข้มข้นขึ้น เช่น การให้อาหาร คำชมเชย ของขวัญ ฯลฯ



การเสริมแรงทางลบ



เป็นการพยายามทำให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น หรือเข้มข้นขึ้น โดยการกำจัดสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ออกไป เช่น การกำจัดเสียงดัง การลดการลงโทษ การลดการดุด่า เป็นต้นการลงโทษ (Punishment)การลงโทษจะให้ผลตรงกันข้ามกับการเสริมแรง กล่าวคือ การเสริมแรงเป็นการทำให้การตอบสนองเพิ่มมากขึ้น แต่การลงโทษเป็นการทำให้การตอบสนองลดน้อยลง การลงโทษทำโดยการให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์หรือสิ่งเร้าที่เป็นภัย ในทันทีทันใดหลังจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือไม่ต้องการออกมา



ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมหรือการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรงเป็นสำคัญการเสริมแรง พฤติกรรมดำเนินไปอย่างซ้ำ ๆ สม่ำเสมอพฤติกรรมการทำโทษ พฤติกรรมจะค่อย ๆ ลดลง


ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
(
Ivan Petrovich Pavlov )
ประวัติความเป็นมา


ชื่อ อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ Ivan Petrovich Pavlov


เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย


เสียชีวิต 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี) เลนินกราด , สหภาพโซเวียต


ที่พำนัก จักรวรรดิรัสเซีย , สหภาพโซเวียต


เชื้อชาติ รัสเซีย , โซเวียต


สาขาวิชา สรีระวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์


สถาบันที่อยู่ สถาบันการแพทย์ทหาร


ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


เกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )





ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ


(Classical Conditioning Thoery )


การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค







การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้


1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง

2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด




สรุป การทดลองที่จัดว่าเป็น classical ได้ให้ concept ใหญ่ๆ 4 ข้อด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญของ S - R Theory คือ


1. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ทั่วไป(Law of Generalization) หรือ การแผ่ขยาย ( Generalization)
2. กฎการจำแนกความแตกต่าง(Law of Discrimination)
3. กฎความคล้ายคลึงกัน
4. การจำแนก





ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น


พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบ สนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว ยังหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน หรือปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งพาฟลอฟได้อธิบายเรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus - S) และการตอบสนอง (Response - R)


การเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองบางอย่างมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้น เรื่อย ๆ เมื่อเติบโตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า สิ่งเร้าที่ไม่ได้ วางเงื่อนไข(Unconditioned stimulus = UCS) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ และการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response = UCR) ซึ่งหมายถึง การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ





จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง ดังนี้


การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ในการทดลองของพาฟลอฟนั้น พบว่า


1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไข

3.ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้ง




ทฤษฎีการเรียนรู้


1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบ สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ

2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ

3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้า

4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ

5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง





กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ


1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction)

2.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery)

3.กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization)

4.กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination)

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

   ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ประวัติของโคลเบิร์ก

ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์ ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)

โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น

ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม

ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ ดี” “ไม่ดีจากผู้มีอำนาจเหนือตน

มักจะคิดถึงผลตามที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษ

จะตัดสินใจเลือกแสดงพฤติกรรมที่เป็นหลักต่อตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น

จะพบในเด็ก 2-10 ปี



โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น

ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน ถูกหรือผิดเป็นต้นว่า ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ผิดและจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ถูกและจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล

ขั้นที่ 2 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น

ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความ พอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล

พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้.......

ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม

เป็นการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี

โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม

ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน ไม่เป็นตัวของตัวเอง คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบของสังคม

จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13 -16 ปี

ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้

ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ

เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสินใจ ถูก” “ผิด” “ไม่ควรมาจากวิจารณญาณ ของตนเอง

เบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา

ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูกและ ผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล

ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล

ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน ในขั้นนี้สิ่งที่ ถูกและ ผิดเป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ