ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคม
(Psycho socil Development) : Erik Erikson
(Psycho socil Development) : Erik Erikson
อีริคสัน เป็นนักจิตวิทยาวิเคราะห์ที่ได้รับการฝึกหัดมาจากฟรอยด์เช่นกัน แต่ได้แก้ไขความคิดของ ฟรอยด์ในหลายด้าน และก็ได้คงลักษณะความคิดบางส่วนของฟรอยด์ เอาไว้เช่นกัน ในเรื่องการพัฒนาบุคคลนั้น อีริคสันมีความเชื่อเช่นกันว่าจิตใจของบุคคลต้องมีการพัฒนามาเป็นระยะแต่จิตใจของบุคคลมิได้พัฒนามาจากความเจริญทางเพศ หากแต่พัฒนามาจากการหล่อหลอมของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เมื่อช่วงอายุผ่านไปความต้องการทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทางสังคมจะเปลี่ยนไป บุคคลจะผ่านขั้นต่างๆโดยในแต่ละขั้นจะทิ้งลักษณะวิกฤตการณ์บางอย่างเอาไว้
ชีวิตในแต่ละวัย เป็นเครื่องทดลองความสามารถของบุคคล ถ้าผ่านมาได้สำเร็จก็จะพบกับประสบการณ์ที่ดี ถ้าล้มเหลวก็จะได้อีกลักษณะที่ตรงกันข้าม ร่องรอยจากประสบการณ์ในอดีตก็จะเป็นเสมือนแผลเป็นในชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นแผลแห่งความสุขหรือความทุกข์ก็ได้ อีริคสันใช้คำว่า "Sense of" นำหน้าพัฒนาการในแต่ละขั้น เพราะเขาคิดว่าในแต่ละขั้นนั้นจะเป็นการทิ้งความรู้สึกเอาไว้ให้บุคคล (น่าสังเกตว่าเป็นทฤษฎีที่ค่อนข้างเน้นเน้นทางอารมณ์)
ชีวิตในแต่ละวัย เป็นเครื่องทดลองความสามารถของบุคคล ถ้าผ่านมาได้สำเร็จก็จะพบกับประสบการณ์ที่ดี ถ้าล้มเหลวก็จะได้อีกลักษณะที่ตรงกันข้าม ร่องรอยจากประสบการณ์ในอดีตก็จะเป็นเสมือนแผลเป็นในชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นแผลแห่งความสุขหรือความทุกข์ก็ได้ อีริคสันใช้คำว่า "Sense of" นำหน้าพัฒนาการในแต่ละขั้น เพราะเขาคิดว่าในแต่ละขั้นนั้นจะเป็นการทิ้งความรู้สึกเอาไว้ให้บุคคล (น่าสังเกตว่าเป็นทฤษฎีที่ค่อนข้างเน้นเน้นทางอารมณ์)
ขั้นพัฒนาการของอีริคสันมีทั้งหมด ๘ ขั้น
1. ขั้นสร้างความรู้สึกเชื่อถือไว้วางใจ V.S ความรู้สึกไม่เชื่อถือไว้ใจ (Sense of Trust V.S Mistrust)
เป็นปีแรกสุดของชีวิต ทารกนั้นเมื่ออยู่ในครรภ์จะมีความสุขความสะดวกสบายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ความร้อนความเย็นหรือความปลอดภัยทุกด้าน แต่เมื่อคลอดออกมาจากครรภ์ ทารกไม่สามารถจะมีความสุขอยู่ได้อย่างเดิม เขาจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในการปรับตัวนี้ ถ้าเขามีแม่ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมคอยช่วยเหลือ เขาก็สร้างความรู้สึกไว้วางใจว่า โลกนี้น่า ภิรมณ์พอที่เขาจะอาศัยอยู่ต่อไปได้ แต่ถ้าเขาได้รับแต่ส่วนที่เลวร้ายจากสังคม เด็กก็จะสร้างความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เขาไม่สามารถจะไว้วางใจใครได้ในโลกนี้ ส่วนความพึงพอใจเด็กวัดจากความสุขสบายทางกายภาพของเขาคือเวลาหิวก็ได้กิน เวลาเปียกก็ได้เปลี่ยน เวลาหนาวก็ได้อุ่นเพราะฉะนั้น แม่เป็นตัวการที่สำคัญสำหรับเด็กในการสร้างความรู้สึกไว้วางใจ และเด็กวัดจากการดูแลอบรมเลี้ยงดูของแม่ วัดจากการกระทำของแม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กๆรับรู้ได้จากการกระทำของแม่ ไม่ใช่ทางคำพูด(เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถเข้าใจภาษาได้ เขาจึงมีความรู้สึกไวเป็นพิเศษต่อกิริยาท่าทาง แม้แต่การอุ้ม ท่าการให้นม)มารดาจึงไม่สามารถปิดซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงกับบุตรได้ การอบรมเลี้ยงดูนั้นไม่ได้หมายถึงการต้องหาอาหารอย่างดีมาให้หรือต้องมีที่หลับที่นอนราคาแพง คุณสมบัติทางด้านวัตถุเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เด็กสนใจวิธีการปฏิบัติต่อกันมากกว่า เช่นท่าทางการอุ้ม การแสดงความรักใคร่ ได้มีการตั้งข้อสังเกต(หรืออาจจะถึงขั้นการวิจัย)ว่า การให้นมทารกนั้นควรจะใช้ท่าอุ้ม มากกว่าที่จะให้ทารกนอนดูดนมอยู่บนที่นอน เพราะช่วงเวลาในการให้นมนี้จะเป็นเวลาที่แม่ได้มีโอกาสแสดงความรักต่อทารกอย่างเต็มที่ ถ้าไม่สามารถสร้างความรู้สึกไว้วางใจได้ก็จะเป็นพื้นฐานของการไว้วางใจมั่นใจในโลกนี้ต่อไป ถ้าแม่ทำไม่สำเร็จก็จะตกค้างอยู่ในจิตใจของทารกต่อไปในชีวิตอนาคตของเขา
เป็นปีแรกสุดของชีวิต ทารกนั้นเมื่ออยู่ในครรภ์จะมีความสุขความสะดวกสบายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ความร้อนความเย็นหรือความปลอดภัยทุกด้าน แต่เมื่อคลอดออกมาจากครรภ์ ทารกไม่สามารถจะมีความสุขอยู่ได้อย่างเดิม เขาจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในการปรับตัวนี้ ถ้าเขามีแม่ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมคอยช่วยเหลือ เขาก็สร้างความรู้สึกไว้วางใจว่า โลกนี้น่า ภิรมณ์พอที่เขาจะอาศัยอยู่ต่อไปได้ แต่ถ้าเขาได้รับแต่ส่วนที่เลวร้ายจากสังคม เด็กก็จะสร้างความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เขาไม่สามารถจะไว้วางใจใครได้ในโลกนี้ ส่วนความพึงพอใจเด็กวัดจากความสุขสบายทางกายภาพของเขาคือเวลาหิวก็ได้กิน เวลาเปียกก็ได้เปลี่ยน เวลาหนาวก็ได้อุ่นเพราะฉะนั้น แม่เป็นตัวการที่สำคัญสำหรับเด็กในการสร้างความรู้สึกไว้วางใจ และเด็กวัดจากการดูแลอบรมเลี้ยงดูของแม่ วัดจากการกระทำของแม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กๆรับรู้ได้จากการกระทำของแม่ ไม่ใช่ทางคำพูด(เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถเข้าใจภาษาได้ เขาจึงมีความรู้สึกไวเป็นพิเศษต่อกิริยาท่าทาง แม้แต่การอุ้ม ท่าการให้นม)มารดาจึงไม่สามารถปิดซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงกับบุตรได้ การอบรมเลี้ยงดูนั้นไม่ได้หมายถึงการต้องหาอาหารอย่างดีมาให้หรือต้องมีที่หลับที่นอนราคาแพง คุณสมบัติทางด้านวัตถุเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เด็กสนใจวิธีการปฏิบัติต่อกันมากกว่า เช่นท่าทางการอุ้ม การแสดงความรักใคร่ ได้มีการตั้งข้อสังเกต(หรืออาจจะถึงขั้นการวิจัย)ว่า การให้นมทารกนั้นควรจะใช้ท่าอุ้ม มากกว่าที่จะให้ทารกนอนดูดนมอยู่บนที่นอน เพราะช่วงเวลาในการให้นมนี้จะเป็นเวลาที่แม่ได้มีโอกาสแสดงความรักต่อทารกอย่างเต็มที่ ถ้าไม่สามารถสร้างความรู้สึกไว้วางใจได้ก็จะเป็นพื้นฐานของการไว้วางใจมั่นใจในโลกนี้ต่อไป ถ้าแม่ทำไม่สำเร็จก็จะตกค้างอยู่ในจิตใจของทารกต่อไปในชีวิตอนาคตของเขา
2. ขั้นสร้างความรู้สึกเป็นอิสระ V.S ความรู้สึกละอายสงสัยไม่แน่นอน (Sense of autonomy V.S shame or doubt)
เป็นปีที่ ๒ ของชีวิต ซึ่งพัฒนาการทางร่างกายของเด็กที่จะเจริญมาถึงขั้นที่สามารถควบคุมอวัยวะที่ขับถ่ายของตนเองได้บ้างแล้ว เช่นการปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาหรือการกลั้นเอาไว้ ซึ่งเขาสามารถบังคับได้ กิจกรรมหลักของเด็กในวัยนี้จะมุ่งอยู่ที่การขับถ่าย เขาจะเริ่มรู้สึกว่าเขาเริ่มบังคับบางอย่างได้แล้ว หลังจากที่ช่วงปีแรกของชีวิตนั้นเด็กไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือแม้แต่ตัวของเขาเองได้เลย ถ้าพ่อแม่ปล่อยปะละเลยเด็กจะสามารถสร้างความรู้สึกว่าตนเองเป็นอิสระ ตอนช่วงนี้เองเป็นช่วงพ่อแม่จะฝึกการขับถ่ายให้เด็ก ถ้าการฝึกนั้นเข้มงวดเคร่งเครียดทำให้เด็กรู้สึกอับอายและสงสัยจริงๆว่า เขาไม่มีเสรีภาพในตนเองเลย แต่ถ้าการฝึกเป็นไปอย่างละมุนละม่อม มีการบอกเวลาและสถานที่ให้เด็กควบคุมได้ มีการผ่อนปรนบ้างแล้วในขั้นต้นๆเขายังทำไม่ได้ดีพอ ไม่ลงโทษด้วยการดุหรือตีหรือเห็นเรื่องการขับถ่ายเป็นเรื่องน่ารังเกียจ
ความอับอายและความสงสัยจะสร้างความอ่อนแอในตนเอง จะเป็นปมด้อยให้เด็กที่เติบโตขึ้นมาพยายามสร้างเกราะป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้เสียหน้าไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวความอับอาย ไม่มั่นใจในความสามรถของตน ขั้นนี้เป็นการวางพื้นฐาน เรื่องความรักและความเกลียด ความร่วมมือและความเต็มใจ การมีเสรีภาพอย่างมีวินัยกำกับ การรู้จักควบคุมตนเอง การมีวินัยในตนเอง การตั้งกฎเกณฑ์ เด็กจะได้รับความเข้าใจว่าเสรีภาพเป็นเรื่องที่ต้องฝึก เสรีภาพต้องมีวินัย
เป็นปีที่ ๒ ของชีวิต ซึ่งพัฒนาการทางร่างกายของเด็กที่จะเจริญมาถึงขั้นที่สามารถควบคุมอวัยวะที่ขับถ่ายของตนเองได้บ้างแล้ว เช่นการปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาหรือการกลั้นเอาไว้ ซึ่งเขาสามารถบังคับได้ กิจกรรมหลักของเด็กในวัยนี้จะมุ่งอยู่ที่การขับถ่าย เขาจะเริ่มรู้สึกว่าเขาเริ่มบังคับบางอย่างได้แล้ว หลังจากที่ช่วงปีแรกของชีวิตนั้นเด็กไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือแม้แต่ตัวของเขาเองได้เลย ถ้าพ่อแม่ปล่อยปะละเลยเด็กจะสามารถสร้างความรู้สึกว่าตนเองเป็นอิสระ ตอนช่วงนี้เองเป็นช่วงพ่อแม่จะฝึกการขับถ่ายให้เด็ก ถ้าการฝึกนั้นเข้มงวดเคร่งเครียดทำให้เด็กรู้สึกอับอายและสงสัยจริงๆว่า เขาไม่มีเสรีภาพในตนเองเลย แต่ถ้าการฝึกเป็นไปอย่างละมุนละม่อม มีการบอกเวลาและสถานที่ให้เด็กควบคุมได้ มีการผ่อนปรนบ้างแล้วในขั้นต้นๆเขายังทำไม่ได้ดีพอ ไม่ลงโทษด้วยการดุหรือตีหรือเห็นเรื่องการขับถ่ายเป็นเรื่องน่ารังเกียจ
ความอับอายและความสงสัยจะสร้างความอ่อนแอในตนเอง จะเป็นปมด้อยให้เด็กที่เติบโตขึ้นมาพยายามสร้างเกราะป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้เสียหน้าไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวความอับอาย ไม่มั่นใจในความสามรถของตน ขั้นนี้เป็นการวางพื้นฐาน เรื่องความรักและความเกลียด ความร่วมมือและความเต็มใจ การมีเสรีภาพอย่างมีวินัยกำกับ การรู้จักควบคุมตนเอง การมีวินัยในตนเอง การตั้งกฎเกณฑ์ เด็กจะได้รับความเข้าใจว่าเสรีภาพเป็นเรื่องที่ต้องฝึก เสรีภาพต้องมีวินัย
3. ขั้นสร้างความคิดริเริ่ม V.S ความรู้สึกผิด (Sense of Iniative V.S guilt)
อยู่ในระหว่างปีที่ ๓-๕ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่สิ่งแวดล้อมใกล้ๆ บ้านเด็กจะได้พบกับเพื่อนเล่นข้างบ้าน พบกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆซึ่งจะก่อให้เกิดการแก้ปัญหาใหม่ๆแก่เขาเช่นกัน การได้พบปัญหามากขึ้นก็ทำให้เด็กสามารถสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆขึ้นมา ถ้าสิ่งแวดล้อมได้อนุญาตให้เด็กได้ทดลองทำผิดบ้างถูกบ้าง ได้เรียนรู้จากข้อบกพร่องของตนเอง โดยไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายร้ายแรง โดยไม่สร้างความรู้สึกว่าการทำผิดนั้นเป็นสิ่งเลวร้าย เด็กจะเกิดความรู้สึกที่ดีในการแก้ปัญหา มีความสนุกสนานที่ผจญต่อสู้กับปัญหาต่างๆ แต่ถ้าพ่อแม่หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมไม่อนุญาตให้แม้แต่การทำผิด ไม่ถือว่าการทำผิดนั้นเป็นการเรียนรู้ กลับสร้างความรู้สึกให้เด็กว่า การทำผิดนั้นเป็นเรื่องน่าอับอายเสียหายร้ายแรง เด็กก็จะสร้างความรู้สึกผิด (guilt feeling) ขึ้นมา ทำให้เด็กรู้สึกเสียใจเมื่อทำพลาดไป หรืออีกแบบหนึ่งก็คือ ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวผิด แท้จริงแล้ว การทำผิดนั้นเป็นเพียงการเริ่มต้นของการทำถูก เราไม่ควรเกิดความรู้สึกผิดมากมายเมื่อต้องทำผิด หากแต่เราคิดว่า เราควรจัดการอย่างไรต่อความล้มเหลวในครั้งก่อน เพื่อทำให้ถูกต้องในครั้งต่อๆไปมากกว่า
ถ้าเด็กได้รับการให้กำลังใจจากสิ่งแวดล้อม เขาก็จะรู้สึกสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา แต่ถ้าเด็กได้รับการเยาะเย้ยถากถางจากการทำผิด ก็จะเกิดความรู้สึกผิดตลอดเวลาที่จำเป็นต้องทำผิดขึ้นมา ถ้าท่านผู้เป็นพ่อแม่หรือญาติพี่น้องของเด็กๆท่านจะเลือกทางไหนล่ะ
4. ขั้นสร้างความรู้สึกขยันหมั่นเพียร V.S ความรู้สึกด้อย (Sense of Industry V.S Inferiority)
อยู่ในระหว่าง ๖ปี-วันแรกรุ่น ในขั้นนี้ส่วนมากเด็กจะไปโรงเรียน เมื่อไปโรงเรียนเด็กจะมีโอกาสริเริ่มทำสิ่งต่างๆได้มาก เริ่มจะเป็นคนผู้รู้จักทำงาน เริ่มเข้าใจความหมายของความเป็นคนว่า "คนนั้นเป็นคนอยู่ได้เพราะการทำงาน" เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะผลิตงานต่างๆออกมาเป็นวัยแห่งความขยันขันแข็ง(ทำให้น่าสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความขยันหมั่นเพียรที่จะทำงานและจะมีความสุขอยู่ด้วยการได้ทำงาน) ในวัยนี้จึงเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นแห่งนิสัยในการทำงาน ถ้าผลผลิตที่เขาทำแล้วได้รับการยกย่อง เห็นคุณค่าจากสังคม ก็ย่อมทำให้เกิดกำลังใจในการทำงาน แต่ถ้าสังคมไม่เห็นคุณค่าของงานที่เขาทำ ก็จะเกิดความรู้สึกเป็นปมด้อย เห็นตนเองว่าไร้ค่าไม่อยากทำงานและดูถูกตัวเอง และนี่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมจึงไม่อยากทำงานของตน เนื่องจากงานของเขาขาดการยกย่องทางสังคม และนอกจากนั้น การถูกบังคับให้ทำงาน หรือเรียนในสิ่งที่ไม่มีความหมายต่อตน ก็ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก (alienation)กับงานที่ทำ ทำให้ไม่อยากทำงาน มีแนวคิดที่น่าสนใจอันหนึ่งคือ เรื่องการเล่นและงานของเด็ก มีผู้เสนอแนวคิดว่า โลกของเด็กไม่ใช่โลกของการเล่นเสมอไป ยกตัวอย่างเด็กทางตะวันออกที่ต้องทำงานมากกว่าเด็กทางตะวันตก เด็กไทยในชนบทก็ต้องช่วยทำงานเช่นเลี้ยงควาย ดูแลน้องแล้วในวัยนี้
5. ขั้นสร้างความรู้สึกที่จะทำความเข้าใจกับตัวเองได้ V.S ความสับสนไม่เข้าใจตัวเอง (Sense of Identity V.S Identity Diffusion)
ได้แก่ระยะวัยรุ่น ในระยะนี้เด็กได้ผ่านพ้นวัยเด็กมาแล้ว แต่เขาก็ยังไม่ได้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างเต็มที่ เขากำลังเป็นวัยรุ่น ลักษณะพิเศษของเด็กวัยรุ่นก็คือ ร่างกายกำลังเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความคิดและอารมณ์ก็เติบโตตามไปด้วย บทบาทของเด็กในสังคมก็เปลี่ยนไป ดังนั้นเด็กจึงต้องหาเอกลักษณ์ของตนเพื่อบอกให้ได้ว่า ตนเองมีฐานะทางสังคมอย่างไร เด็กวัยรุ่นมีฐานะไม่ชัดเจนทางสังคม เขาไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้วแต่ก็ยังไม่ใช่ผู้ใหญ่ เขาเป็นเด็กตัวโตๆและเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ ถ้าสังคมไม่กำหนดบทบาทให้เขาได้อย่างชัดเจนก็จะก่อให้เกิดความสับสนในบทบาทของตนเอง ลักษณะที่สำคัญของวัยรุ่น ก็คือ รับรู้ไว เรียนรู้ไว มีลักษณะอุดมคติและไม่เพียงแต่จะมองหาอุดมการณ์เท่านั้นแต่ยังมีความพยายาม ที่จะทำให้อุดมการณ์นั้นเป็นจริงด้วย (มีพลังที่จะคิดจะทำที่ดีกว่า) วัยรุ่นจะเชื่อเสมอว่าอุดมการณ์คือสิ่งที่ทำให้เป็นจริงได้เสมอ แต่ถ้าผู้ใหญ่ในสังคมหลอกลวงเขา เขาก็จะปฏิเสธและจะค้นหาความจริงด้วยตนเอง สังคม (ผู้ใหญ่) มักจะมีการคาดหวังบทบาทล่วงหน้าเอาไว้ให้กับเด็กวัยรุ่น เช่น วิธีที่พูดถึงเด็กวัยรุ่นว่า ถ้าเป็นวัยรุ่นก็ต้องมีปัญหา อันที่จริงลักษณะของวัยรุ่นก็คือ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขของสังคม เนื่องจากวัยรุ่นเป็นคนที่ไม่เข้ากลุ่มไหน จึงไม่ต้องยอมรับเงื่อนไขของสังคมไหน ไม่ว่าจะเป็นสังคมเด็กสังคมผู้ใหญ่ และเนื่องจากเขาเป็นคนที่ปฏิเสธความเชื่อเก่าๆ เขาต้องการตรวจสอบค่านิยมเดิมๆว่าถูกต้องหรือไม่ เช่นค่านิยมที่ว่า คนผมยาวเป็นคนไม่ดี และเพราะลักษณะนี้เองทำให้ผู้ใหญ่มองว่าเป็นปัญหา เพราะการไม่ยอมรับมาตรฐานของกลุ่มผู้ใหญ่(Non-Conformity) เมื่อวัยรุ่นไม่ยอมรับเงื่อนไขก็มีการกล่าวว่าวัยรุ่นมีปัญหา เกิดความขัดแย้งเป็นช่องว่างระหว่างวัยขึ้นมา คำกล่าวที่ว่าวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหานั้น ไม่น่าจะจริงเสมอไป ดูตัวอย่างจากงานด้านการศึกษานักมนุษย์วิทยาที่ได้ค้นพบสังคมชาวเกาะโบราณ ที่มีการยอมรับวัยรุ่นเป็นอย่างดี ในสังคมแบบนี้บทบาทของวัยรุ่นไม่สับสน หรือในสังคมปัจจุบันบางสังคมก็มีการกล่าวถึงวัยรุ่นว่า "จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย เกรียงไรพลังสร้างสรรค์"จึงเท่ากับเป็นการเปรียบเทียบวันรุ่นว่า เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่เพิ่งจะเริ่มขึ้น ย่อมจะต้องทอแสงต่อไปอีกยาวนานเป็นการแสดงภาพพจน์ที่ดีที่สังคมมีต่อวัยรุ่น ปัญหาของวัยรุ่นจึงไม่น่าจะเป็นปัญหาของตัววัยรุ่นเอง แต่น่าจะเป็นปัญหาจากโครงสร้างสังคม ที่ไม่มีการกำหนดบทบาทในวัยรุ่นให้ได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตัวเองหรือต้องสับสนกับตนเองมากว่า
6. ขั้นสร้างความรู้สึก ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นปึกแผ่น V.S ความโดดเดี่ยวเดียวดายอ้างว้าง (Sense of Iniatimacy and Solidarity V.S Isolation)
เป็นวัยเริ่มเป็นผู้ใหญ่ หัวใจหลักในวัยนี้ก็คือ ความรักและการทำงาน เพราะเมื่อมองดูจากฐานะทางสังคมในวัยนี้ บุคคลจำเป็นจะต้องนำตัวเองเข้าไปผูกพันกับหลักแหล่งอันใดอันหนึ่ง ทั้งด้านการงานและครอบครัวในระยะนี้ ไม่ใช่ระยะปฏิเสธหัวชนฝาแบบวัยรุ่นอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นระยะที่ต้องยอมรับทางสังคมบางอย่าง บุคคลมีความพร้อมแล้วทางถานะสังคมในอันที่จะประกอบสัมมาอาชีพเพราะจบการศึกษาแล้วและบุคคลมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจแล้วที่จะตั้งหลักฐานเป็นครอบครัวกับใครสักคนหนึ่ง ถ้าบุคคลสามารถจัดการความสามารถส่วนตัวให้ไปกันได้กับสถาบันต่างๆของสังคมเขาก็จะอยู่ในสังคมไปได้ด้วยดี แต่ถ้าเขามีปัญหามาเสียตั้งแต่ขั้นต้นๆจนทำให้ไม่สามารถจัดการกับเรื่องการงานและความรักได้สำเร็จ ความอับอายความกลัวเสียหน้าก็จะทำให้แยกตัวออกจากเพื่อนฝูง หลบหน้าไม่ยอมพบปะผู้คน สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สำคัญคือเพื่อนสนิท มิตรร่วมงานและคู่ชีวิต ปัญหาที่บุคคลต้องประสบในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัวก็คือ ความร่วมมือและการแข่งขัน เขาจะต้องสามารถจัดการกับทั้งสองสิ่งนี้ให้ได้พอเหมาะ ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ก็คือความรักและความผูกพันต่องานและครอบครัว
7. ขั้นให้กำเนิด และเลี้ยงดูบุตร V.S การหมกมุ่นใฝ่ใจแต่ตัวเอง (Sense of Generative V.S Stagnation) เป็นวัยผู้ใหญ่และเข้าสู่วัยกลางคน ขั้นนี้เป็นขั้นที่คนเริ่มคิดวางแผนอนาคต คิดถึงการมีสายสัมพันธ์ มีลูกหลานในด้านความมั่นคงทางการงานอาจจะหมายถึงการสร้างหลักฐาน ปลูกบ้านช่อง ส่วนความมั่นคงทางจิตใจหมายถึงความต้องการที่จะมีบุตรหลาน คนที่สามารถประคองนาวาชีวิตมาได้ดีจนถึงวัยนี้ ก็จะเกิดความรู้สึกดังที่กล่าวมา ส่วนบุคคลที่ล้มเหลวไม่ได้แต่งงาน ก็ย่อมหมดโอกาสที่จะมีบุตรหลาน หรือถ้าไม่มีงานทำก็หมดโอกาสที่จะเป็นหลักเป็นฐาน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็คือเฉยชา ไม่คิดจะสร้างสรรค์อะไรไว้ให้ใคร เมื่อไม่มีสิ่งแวดล้อมจะให้สนใจก็จะพุ่งความสนใจเข้าตัวเอง กลายเป็นคนรักตัวเองหมกมุ่นใฝ่ใจแต่เรื่องของตัวเอง ไม่รักผู้อื่น ไม่คิดเรื่องสังคมโดยรอบ สิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือการได้มีโอกาสแสดงความรับผิดชอบในครอบครัว บุคคลที่มีพัฒนาการสมบูรณ์จะมีความรู้สึกว่าได้ทำประโยชน์แก่สังคม และสามารถให้ความดูแลอารักชาผู้อื่นได้
8. ขั้นสร้างความรู้สึกมั่นคงสมบูรณ์ V.S ความหมดหวังทอดอาลัย (Sense of Integrity V.S Despair)
เป็นวัยชรา เป็นวัยสุดท้ายที่ประมวลเอาประสบการณ์ในชีวิตไว้ เป็นวัยสุดท้ายของชีวิต ฉากสุดท้ายของชีวิตนี้จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นได้สามารถพัฒนาตนเองมาตั้งแต่ฉากแรกได้อย่างไร บุคคลได้มีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างไร ช่วงสุดท้ายของชีวิตจะเป็นช่วงสุดท้ายที่เราหันกลับไปมองอดีตมาตั้งแต่ต้น และเหลือตกตะกอนเป็นช่วงปลายของชีวิต
ถ้าชีวิตตั้งแต่ต้นพบกับความสำเร็จ ในขั้นสุดท้ายนี้บุคคลก็จะพึงพอใจในชีวิตที่ผ่านมา เพราะพร้อมที่จะอำลาจาโลกนี้ไป เนื่องจากได้ประจักษ์ถึงผลสำเร็จที่ได้เกิดขึ้น หลายคนพอใจที่จะติดต่อกับคนรุ่นหลัง เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์แต่ครั้งหลังให้เป็นบทเรียน เหมือนเราได้ทำงานชิ้นหนึ่ง เมื่อทำได้สำเร็จแล้วถึงเวลาอันสมควรเราก็อยากจะวางมือและส่งต่อให้ผู้อื่นได้รับไปทำต่อ บุคคลเหล่านี้จะสามารถมองโลกได้กว้างไกล มีความรักในมนุษยชาติและตระหนักว่าชีวิตเป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ ความรู้สึกที่สร้างขึ้นคือ ความรู้สึกว่าตนฉลาดรอบรู้ การสละตัดใจได้ไม่กลัวต่อความตายที่ย่างเข้ามาใกล้ตรงข้ามกับบุคคลผู้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตจะมีความกลัวตายเมื่อรู้แน่ชัดว่าเวลาของตนใกล้เข้ามาแล้ว เขาจะรู้สึกผูกพันกับภารกิจที่ยังคั่งค้างอยู่ ยังทำได้ไม่สำเร็จความหมดหวังท้อแท้ต่อชีวิตปรากฏขึ้น การใช้ชีวิตในบั้นปลายจะเป็นการอยู่ไปวันๆอย่างไร้ความหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของคนชราคือ คนในวัยและสถานะเดียวกัน ตลอดชีวิตของบุคคลนี้ ก็คือการสร้างสรรค์และฝึกการทำหน้าที่ของ ego มาตลอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น