การทดลอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์ B.F. Skinner ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำ พัฒนาขึ้นโดย บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990) มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและลงโทษการเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ
1.การเสริมแรงทางบวก (Positive
reinforcement)
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative
reinforcement)
เป็นการกระทำชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้เรียนและความพึงพอใจนั้นทำให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการมากครั้งขึ้นหรือตอบสนองอย่างเข้มข้นขึ้น
เช่น การให้อาหาร คำชมเชย ของขวัญ ฯลฯ
การเสริมแรงทางลบ
เป็นการพยายามทำให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น
หรือเข้มข้นขึ้น โดยการกำจัดสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ออกไป เช่น การกำจัดเสียงดัง
การลดการลงโทษ การลดการดุด่า เป็นต้นการลงโทษ
(Punishment)การลงโทษจะให้ผลตรงกันข้ามกับการเสริมแรง กล่าวคือ
การเสริมแรงเป็นการทำให้การตอบสนองเพิ่มมากขึ้น
แต่การลงโทษเป็นการทำให้การตอบสนองลดน้อยลง
การลงโทษทำโดยการให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์หรือสิ่งเร้าที่เป็นภัย
ในทันทีทันใดหลังจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือไม่ต้องการออกมา
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น
พฤติกรรมหรือการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรงเป็นสำคัญการเสริมแรง
พฤติกรรมดำเนินไปอย่างซ้ำ ๆ สม่ำเสมอพฤติกรรมการทำโทษ พฤติกรรมจะค่อย ๆ
ลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น