ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์
ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์
เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1915 เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์
บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
บรูเนอร์มีความเชื่อว่า “
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ
และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม
”
บรูเนอร์ได้จัดลำดับขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กหรือโครงสร้างทางสติปัญญาเป็น 3
ขั้น
ขั้นที่1
Enactive representation
ขั้นที่2
Iconic representation
ขั้นที่3
Symbolic representation
ขั้นที่1
Enactive representation
ขั้นที่1
Enactive representation (แรกเกิด – 2 ขวบ )
ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้
หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น
จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น
การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับ
ขั้นที่2
Iconic representation
ขั้นที่2
Iconic representation ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด
เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ
การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก
ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า
Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ
ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง
เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ขั้นที่3 Symbolic representation
ขั้นที่3
Symbolic representation ในพัฒนาการทางขั้นนี้
บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น
การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic
mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ขั้นพัฒนาการต่างๆ
ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ
ดังนี้
ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
ระดับประถมปลาย
ระดับมัธยมศึกษา
เด็กวัยอนุบาลจะอยู่ในระดับ Iconic
representation ซึ่งการเรียนรู้ต่างๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำ
โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ เด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย
Iconic representation เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้
ระดับประถมปลาย
เด็กในระดับประถมปลายมีพัฒนาจาก Iconic
representation ไปสู่ symbolic representation ซึ่งสิ่งที่บรูเนอร์เน้นที่คล้ายคลึงกับแนวความคิดของเปียเจท์ในหลักการทั่วไป
ระดับมัธยมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
การใช้สัญลักษณ์ ( symbolic
representation ) ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขึ้น
ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยการกระตุ้นให้ใช้ discovery approach
โดยเน้นความเข้าใจ concept
และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆ
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ
4
ประการ คือ
1
ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้
อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2
โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3 การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4 การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป
บรูเนอร์มีความเห็นว่า
คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า
acting,
imaging และ symbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น